ค้นหา
ชนิดของงาน ชนิดของปัญหา
   
 
 
 
 
PS ขึ้นรูปด้วยกระบวนการอัดรีด
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
ผิวชิ้นงานไม่มันเงา
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
เกิดจากการขัดเงาผิวด้านในแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ทำการขัดเงาผิวในแม่พิมพ์
เกิดการฉีกขาดของแผ่นชีท ในขั้นตอนการดูดสุญญากาศ
 
การดูดสุญญากาศเร็วเกินไป
ลดอัตราเร็วของการดูดสุญญากาศ ขณะดึงชิ้นงาน
 
แผ่นชีทเย็นเกินไป
เพิ่มเวลา และอุณหภูมิในการให้ความร้อน พยายามรักษาอุณหภูมิ ให้ทั่วถึงทั้งแผ่นชีท
 
การออกแบบเม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
เพิ่มขนาดองศาของมุม
เกิดจุดหรือแนวสว่างบนชิ้นงาน
 
แผ่นชีทได้รับความร้อนสูงเกินไป ในบางบริเวณ
ปรับอุณหภูมิของเครื่องควบคุมความร้อน ใน บริเวณที่พบปัญหาให้เหมาะสม ติดตั้งตะแกรงกรอง เพื่อไม่ให้เกิดการสะสมของความร้อน ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งมากจนเกินไป
ความบกพร่องของพื้นผิว
 
แผ่นชีทหรือแม่พิมพ์สกปรก
ทำความสะอาดแผ่นชีท และ/ หรือ พื้นผิวแม่ พิมพ์ก่อนดำเนินการ ขึ้นรูปชิ้นงาน
 
ผิวแม่พิมพ์มีรอยนูนเกิดขึ้น
เกิดการเก็บกับอากาศไว้ภายใน ซึ่งอาจแก้ไขได้ โดยวิธีการพ่นทราย (Sand blast) ขนาด #30
แถบสีขาวบนชีท
 
อุณหภูมิของชีทต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิในกระบวนการขึ้นรูป เพิ่มอัตราเร็วของเครื่องดูดสุญญากาศ
ชีทหรือชิ้นงานมีลักษณะเป็นใย ย่นยับ
 
แรงดูดสุญญากาศไม่เพียงพอ
ตรวจสอบการทำงานของเครื่องดูดสุญญากาศ ของแม่พิมพ์ เพิ่มรูหรือช่องดูดสุญญากาศถ้าจำเป็น
 
เกิดการย้อยของชีทมากเกินไป
ลดความร้อนที่ใช้ลงให้เหมาะสม
 
อุณหภูมิของชีทร้อนเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดเวลาในการให้ความร้อนลง
แผ่นชีทไหม้
 
อุณหภูมิของผิวชีทร้อนเกินไป
ลดเวลาในการให้ความร้อนลง ลดอัตราเร็วในการให้ความร้อนลง
ชิ้นงานผิดรูป
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
แบบแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
เพิ่มช่องสูญญากาศ เพิ่มช่องน้ำหล่อเย็นในส่วนการตัดชิ้นงาน
 
อุณหภูมิการเย็นตัวของชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
เพิ่มช่องน้ำหล่อเย็นในแม่พิมพ์หรือเพิ่มขนาด ตรวจสอบการต่ออุปกรณ์หล่อเย็น
ชิ้นงานติดบนแม่พิมพ์
 
แม่พิมพ์มีส่วน undercut ที่ขัดขวางการถอดชิ้น งานออกจากแบบ
เพิ่มความดันอากาศ เคลื่อนชิ้นงานหลังการขึ้นรูปออกจากแม่พิมพ์ ให้เร็วขึ้น
 
อุณหภูมิของชิ้นงานสูงเกินไป
ปรับเพิ่มเวลาในการหล่อเย็น ลดอุณหภูมิแม่พิมพ์ลงเล็กน้อย
ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนสี
 
อุณหภูมิในการขึ้นรูปสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน หากพบปัญหา เกิดซ้ำ เฉพาะบริเวณเดิม
ฟองอากาศภายในชิ้นงาน
 
อุณหภูมิในการขึ้นรูปไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน ปรับอุณหภูมิของแต่ละส่วน ของการขึ้นรูปให้เหมาะสม ติดตั้งตะแกรงกรองเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม ของความร้อน ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
 
ให้ความร้อนเร็วเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดอัตราเร็วในการให้ความร้อน เพิ่มระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ให้ความร้อนกับชีท
 
ฟองอากาศภายในชิ้นงาน
อบหรือให้ความร้อนชีทก่อนนำเข้าสู่กระบวนการขึ้นรูปด้วยความร้อน ทั้งนี้ระยะเวลาในการอบหรือให้ความร้อนขึ้นกับความหนาของชีทที่ต้องการ ให้ความร้อนแก่ชีททั้ง 2 ด้าน
ความหนาของชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์ ตรวจสอบระบบควบคุมอุณหภูมิ หรือการอุดตัน ของเครื่องการกระจายตัวของวัสดุยังไม่ดีพอ ซึ่งอาจปรับปรุงได้ โดยการดึงยืดแผ่นชีท ก่อนเข้าสู่ กระบวนการดูดด้วย สุญญากาศ
 
เกิดจุดร้อนหรือเย็นในชีท
ควบคุมความร้อนให้สม่ำเสมอ ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน
 
การย้อยของชีทไม่เหมาะสม
ให้ความร้อนแก่ชีทอย่างสม่ำเสมอ
ชิ้นงานที่ขึ้นรูปได้ไม่สมบูรณ์
 
การดูดสุญญากาศไม่เร็วพอ
ตรวจสอบการรั่วของอุปกรณ์ดูดสุญญากาศ ใช้ช่องสุญญากาศขนาดใหญ่ขึ้น ในพื้นที่ที่จำเป็น
 
แรงดูดสุญญากาศไม่เพียงพอ
เพิ่มจำนวน และ/หรือ ขนาดของช่อง สุญญากาศ
 
อุณหภูมิของชีทต่ำเกินไป
เพิ่มระยะเวลาการให้ความร้อนแก่ชีท เพิ่มอุณหภูมิการขึ้นรูป เพิ่มอุปกรณ์ให้ความร้อน ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน หากพบปัญหา เกิดซ้ำเฉพาะบริเวณเดิม
เกิดเส้นบนชีทหรือชิ้นงาน
 
อุณหภูมิของชีทสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป
 
การควบคุมอุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
เพิ่มปริมาณหรือขนาดของอุปกรณ์ให้ความเย็น
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิของหัวอัดขึ้นรูปต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของหัวอัดขึ้นรูป
PS ขึ้นรูปด้วยกระบวนการฉีด
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
เกิดครีบ Flashing
 
อุณหภูมิพลาสติกเหลวสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิพลาสติกเหลว
 
ความดันในการฉีดมากเกินไป
ปรับลดความดันในการฉีด
 
ความเร็วในการฉีดสูงเกินไป
ปรับลดความเร็วในการฉีด
ปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ยาก
 
การอัดตัวของเนื้อพลาสติกมากเกินไป
ปรับลดความดันในการฉีดขึ้นรูป และ ปรับลดเวลาของ forward timeในสกรู และ boost timeในระหว่างการฉีดขึ้นรูป
 
ชิ้นงานเย็นตัวไม่สมบูรณ์
ปรับเพิ่มเวลาในการหล่อเย็น ปรับลดอุณหภูมิของเนื้อพลาสติกเหลว ปรับลดอุณหภูมิของแม่พิมพ์
 
รอบระยะเวลาในการขึ้นรูปสั้นเกินไป
ปรับรอบระยะเวลาในการขึ้นรูปให้มากขึ้น
 
ใช้ความดันสูงและเวลานานเกินไป ในการขึ้นรูป
ปรับรอบระยะเวลาในการฉีดให้มากขึ้น
 
ลักษณะผิวแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ทำการขัดส่วนของด้านในแม่พิมพ์ โดยเฉพาะด้านล่างสุด ตรวจสอบการชำรุดบริเวณผิวหน้าของแม่พิมพ์ เติมสารเติมแต่งจำพวก น้ำยาถอดแบบ
ผิวด้าน
 
เกิดจากการขัดเงาในแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ขัดเงาผิวในแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำมากเกินไป
ปรับอุณหภูมิของแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น
ชิ้นงานมีลักษณะฟองเล็กๆ
 
ระยะเวลาของรอบการผลิตสั้นเกินไป
เพิ่มระยะเวลาของรอบการผลิต
 
ใช้ความดันในการอัดแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มแรงกด ของการอัดเนื้อพลาสติกลงในแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์สูงเกินไป
ลดอุณหภูมิของแม่พิมพ์ลง
ชิ้นงานผิวส้ม
 
เม็ดพลาสติกมีความชื้นปนเปื้อน
ทำการอบเม็ดพลาสติกก่อนทำการใช้
 
สภาพผิวของแม่พิมพ์ไม่ดี
ทำการขัดเงาบริเวณผิวด้านในของแม่พิมพ์
 
แม่พิมพ์ประกบตัวเร็วเกินไปเนื่องจาก ความดันที่ใช้ในการประกบแม่พิมพ์สูง
ลดความเร็วรอบ เพื่อให้แม่พิมพ์ประกบตัวช้าลง
รอยการไหล
 
ออกแบบชิ้นส่วนภายในแม่พิมพ์ใหม่ เพื่อให้ได้ผนังที่มีความหนาเป็นค่าเดียว
 
ความหนาของผนังมีค่าไม่คงที่
 
ขนาดของ Gate เล็กเกินไป
เพิ่มขนาดของ Gate
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำ
เพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิในการหลอมเหลวต่ำ
เพิ่มอุณหภูมิในการหลอมเหลว
การไม่คงที่ของขนาดชิ้นงาน
 
ระบบ Runner ไม่สมดุล
ทำให้ขนาดของ Gate และ Runner สมดุลเพื่อทำให้การบรรจุสมดุล
 
การเปลี่ยนแปลงความดันในการหลอม
เพิ่มความดันในการบรรจุ เพื่อเป็นการคงให้สภาวะการไหลส่วนมาก มีค่าความเร็วตามที่เลือกไว้ เพิ่มความดันในการอัดย้ำไปยังค่าที่มากที่สุด เพิ่มอัตราในการฉีด
 
รีไซเคิลมีความไม่สม่ำเสมอในคุณภาพ
ตรวจสอบขั้นตอนในการผสมรีไซเคิล หรือ ลดการใช้รีไซเคิล
 
การอัดตัวของเนื้อพลาสติกไม่ดีพอ
เพิ่มเวลาและความดันในการฉีดไปข้างหน้า เพื่อให้แน่ใจว่าพลาสติกเหลวบริเวณ Gate เกิดการแข็งตัวแล้ว
 
การป้อนพลาสติกไม่สม่ำเสมอ
ปรับอุณหภูมิที่ใช้ในการบรรจุให้เหมาะสม เพิ่ม Shot size เพื่อให้รักษาระยะ Cushion (ระยะที่พลาสติกเหลวค้างอยู่หน้า screw)
รอยตำหนิบนผิวหน้าของชิ้นงาน
 
สภาพผิวของแม่พิมพ์ไม่ดี
ทำความสะอาดและ ขัดบริเวณผิวด้านในของแม่พิมพ์
 
เม็ดพลาสติกเสียสภาพในระหว่างการหลอมขึ้นรูป
ลดอุณหภูมิในการหลอมขึ้นรูป
 
ความเร็วที่ใช้ในการฉีดเนื้อพลาสติก เข้าแม่แบบต่ำเกินไป
เพิ่มความเร็วที่ใช้ในการฉีดเนื้อพลาสติกให้สูงขึ้น
 
ผิวของแม่พิมพ์มีสารหล่อลื่นมากเกินไป
ใช้ปริมาณสารหล่อลื่นกับแม่พิมพ์ให้น้อยลง
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติก และแม่พิมพ์นั้นต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของเนื้อพลาสติก และแม่พิมพ์นั้นให้สูงขึ้น
เนื้อพลาสติกไม่เต็มแม่พิมพ์
 
มีอากาศตกค้างทำเกิด Back pressure ภายในแม่พิมพ์
เพิ่มรูระบายอากาศในแม่พิมพ์ให้มากขึ้น
 
จำนวน gates ของแม่พิมพ์มีน้อยเกินไป
เพิ่มจำนวน gates ของแม่พิมพ์
 
ขนาดของ Runners/ gates และ nozzle เล็กเกินไป
ปรับขนาดของ Runners/ gates และ nozzleให้เหมาะสมกับการขึ้นรูปต่างๆ
 
ความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็ม แม่พิมพ์ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็ม แม่พิมพ์ให้สูงขึ้น
 
Injection forward time และ boost time สั้นเกินไป
เพิ่มระยะเวลา forward และ boost time
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติก และแม่พิมพ์นั้นต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของระบบหล่อเย็น ในระบบให้สูงขึ้น
 
ความดันของการฉีดน้อยเกินไป
เพิ่มความดันของการฉีดให้มากขึ้น
รอยจุดสีดำปนเปื้อน
 
ปริมาณ regrind มากเกินไป
ลดปริมาณ regrind
 
ความเร็วรอบสกรูมากเกินไป
ปรับลดความเร็วรอบสกรู
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติกสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิของพลาสติกเหลว
งาน Masterbatch Carrier
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
สีของ masterbatch ที่ได้เพี้ยนไปจากสีของ pigment ที่ใช้
 
Pigment มีสมบัติการทนความร้อนต่ำ
ลดอุณหภูมิของ barrel ในกระบวนการ extrusion ปรับเวลาที่อยู่ในเครื่อง extrusion ให้เร็วขึ้น ใช้ pigment ที่มีสมบัติการทนความร้อนได้ดี
 
Pigment กระจายตัวได้ไม่ดี
ปรับปรุงการกระจายตัวของ pigment ให้สม่ำเสมอขึ้นโดยใช้วิธีที่ได้ระบุแล้วข้างต้น
 
ปริมาณของ pigment ไม่พอหรืออาจมากเกินไป
ปรับปริมาณ pigment ให้เหมาะสม
ขนาดเม็ดที่ได้จากขั้นตอน การตัดไม่สม่ำเสมอ
 
ใบมีดทื่อ
เปลี่ยนใบมีด ลับใบมีดให้คมขึ้น
 
ความเร็วของ screw ไม่สัมพันธ์กันกับความเร็วของการตัดเม็ด
ปรับความเร็วของ screw ให้สัมพันธ์กับความเร็วของการตัดเม็ด
พบ defect บนผิวของเม็ด masterbatch
 
มีความชื้นในเม็ดพลาสติกหรือ filler/pigment
อบเม็ดพลาสติกและ filler/pigment ก่อนทำการผสม
 
Polymer ไหม้
ลดอุณหภูมิของ barrel ลง ลดอัตราการให้ความร้อนให้ช้าลง ลดแรงเค้นในระบบ ปรับเวลาที่อยู่ในเครื่อง extrusion หรือเครื่องอบเพื่อไล่ความชื้น (resident time) ให้เร็วขึ้น
 
พบสิ่งปนเปื้อน
ตรวจสอบสิ่งที่น่าจะทำให้เกิดสิ่งปนเปื้อนนั้น และทำความสะอาด ทำความสะอาจเครื่องมือ/ อุปกรณ์ทุกครั้งก่อนการใช้งาน
 
การกระจายตัวของ filler/pigment ไม่สม่ำเสมอ
ทดลองแก้ปัญหาดังวิธีที่ได้ระบุมาแล้วเบื้องต้น
การกระจายตัวของ filler/pigment ใน polymer carrier ไม่สม่ำเสมอ
 
พบสิ่งปนเปื้อน
ตรวจสอบสิ่งที่น่าจะทำให้เกิดสิ่งปนเปื้อนนั้น และทำความสะอาด ทำความสะอาดเครื่องมือ/ อุปกรณ์ทุกครั้งก่อนการใช้งาน
 
อัตราการป้อนของ filler/pigment และ polymer ไม่สม่ำเสมอ
ทำ การ premix ระหว่างผง filler/pigment และ polymer ก่อนที่จะนำเข้าเครื่อง extrusion เพื่อให้ได้การกระจายตัวที่สม่ำเสมอ และความเข้มข้นที่เหมาะสม
 
ขนาดของ filler/pigment ใหญ่เกินไป
ลดปริมาณของ filler/pigment ลง
 
ความหนืดของ polymer carrier สูงเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของ barrel เพื่อช่วยให้ polymer หลอมตัวได้มากขึ้นส่งผลให้มีอัตราการไหลที่เพิ่มขึ้น ใช้เม็ดพลาสติกที่มีอัตราการไหล (MFR) มากขึ้น
 
ปริมาณของ filler/pigment สูงเกินไป
ลดปริมาณของ filler/pigment ลง
 
ขั้นตอนการผสมไม่มีประสิทธิภาพ
เพิ่ม back pressure โดยใช้ screen pack ที่มีรูละเอียดมากขึ้น หรือเพิ่มความเร็วรอบของสกรู ลดอุณหภูมิของ barrel ลง ทำให้ polymer มีความหนืดมากขึ้น ส่งผลให้แรงเฉือนในเครื่อง extrusion มีค่ามากขึ้น ปรับ ปรุงพื้นผิวของ filler/pigment ก่อนการผสมกับ polymer หรือใช้ dispersing agent เพื่อลด การ agglomerate ของ filler/pigment ในเนื้อ polymer ตรวจสอบความเข้ากันได้ระหว่าง filler/pigment และ polymer carrier ปรับปริมาณการใส่ filler/pigment เพื่อให้ได้ความหนืดที่เหมาะสมต่อการกระจายตัว
งานสายไฟและสายเคเบิ้ล
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
ผิวสายไฟไม่เงา
 
พลาสติกยังหลอมไม่สมบูรณ์
ผสมพลาสติกให้เป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์มากขึ้น
 
อุณหภูมิที่ดายต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิ
เกิดรอยเส้นบนสายไฟ
 
ดายไม่สะอาด
ทำความสะอาดดายน์ และควรระมัดระวังในการทำความสะอาด โดยหลีกเลี่ยงวัสดุจำพวกโลหะเพื่อไม่ให้เกิดการขีดข่วน
 
ดายออกแบบมาไม่ดีหรืออาจมีรอยขีดข่วน
ตรวจสอบดายน์ หากพบรอยขีดข่วนให้แก้ไขหรือเปลี่ยนเป็นดายใหม่
ความหนาสายไฟไม่สม่ำเสมอ
 
ความสม่ำเสมอในการ feed เม็ดพลาสติกเข้า extruder ไม่คงที่
ตรวจสอบบริเวณใต้ hopper ที่เชื่อมต่อ extruder และตรวจสอบอัตราการ feed
 
เนื้อพลาสติกไม่ผสมเป็นเนื้อเดียวกัน
ลดความเร็วสกรูใน extruder ลง เพื่อเพิ่มเวลาในการผสมของเนื้อพลาสติกใน extruder ให้มากขึ้น
 
เนื่องจากการตั้งอุณหภูมิที่ extruder ยังไม่เหมาะสม
ปรับอุณหภูมิที่ extruder ให้เหมาะสม หรือเพิ่มให้มีน้ำหมุนเวียนบริเวณหัวดายน์ เพื่อป้องกันการเกิดอุณหภูมิที่สูงเกินไป
สายไฟมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ภายนอกไม่สม่ำเสมอ
 
Melt strength ต่ำผิดปกติ
ปรับลดอุณหภูมิของ extruder ลง
 
การหล่อเย็นไม่เพียงพอ
ตรวจ สอบและแก้ไขระบบทำความเย็นให้เหมาะสม โดยน้ำที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นจะช่วยให้ขนาดของสายไฟ ใหญ่ขึ้น และในทางตรงกันข้ามน้ำที่มีอุณหภูมิต่ำลง จะช่วยทำให้ขนาดของสายไฟเล็กลง
 
อุณหภูมิบริเวณหัวดายไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบอุณหภูมิบริเวณหัวดายให้สม่ำเสมอ
 
รูปร่างท่อไม่คงที่เนื่องมาจากแรงของลูกกลิ้งในอ่างน้ำหล่อเย็น
ออกแบบลูกกลิ้งให้เหมาะสม หรืออาจเพิ่มจำนวนของลูกกลิ้งให้มากขึ้น
 
เนื่องจากขนาดของดายน์อาจผิดปกติ
ปรับขนาดดายใหม่
มีความทนแรงดึงต่ำ
 
หล่อเย็นเร็วเกินไป
ใช้ระบบการหล่อเย็นแบบ Gradient
 
ความชื้นในวัตถุดิบสูงเกินไป
เพิ่มระยะเวลาการอบ
เกิด Crosslink ไม่เพียงพอ
 
ตัวเร่งปฏิกิริยากระจายตัวไม่ดี
ตรวจสอบขั้นตอนการผสมให้ถูกต้อง
 
ปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาไม่เพียงพอ
เติมปริมาณตัวเร่งปฏิกิริยาให้ถูกต้อง
 
ระยะเวลาในการเกิด Crosslink ไม่เพียงพอ
ปรับเปลี่ยนระยะเวลาและอุณหภูมิในการเกิด Crosslink
เกิด Gel
 
เกิดการ Scorch
ตรวจสอบ / ทำความสะอาด Screw
 
วัตถุดิบอยู่ใน Screw นานเกินไป
เพิ่มความเร็วรอบ Screw / ตรวจสอบการเกิด Bridgingในส่วนการป้อนวัตถุดิบ
 
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเก่าเกินไป
เปลี่ยนมาใช้วัตถุดิบที่ผลิตขึ้นใหม่
 
พอลิเมอร์หลอมมีอุณหภูมิสูงเกินไป
ลดการตั้งอุณหภูมิใน Extruder
 
ความชื้นในวัตถุดิบสูงเกินไป
ใช้วัตถุดิบจากบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทและไม่ชำรุด เสียหายอบวัตถุดิบทั้งหมดก่อนการใช้งาน ใช้ Drying Hopper ในการป้อนวัตถุดิบเข้า Extruder
การยึดติดกับตัวนำไม่ดี/เกิดการหดกลับ
 
การหล่อเย็นเร็วเกินไป
ใช้น้ำร้อนในการหล่อเย็น
 
ตัวนำอุณหภูมิต่ำเกินไป
ให้ความร้อนกับตัวนำก่อนเข้าหัว Die
อุณหภูมิของพอลิเมอร์หลอมสูง
 
Screen Pack ละเอียดเกินไป
ใช้ Screen Pack ที่มีความละเอียดลดลง
 
Screen Pack เกิดการอุดตัน
ทำความสะอาด / เปลี่ยน Screen Pack
 
การออกแบบหัวดายไม่เหมาะสม
ลด Die Land
 
การตั้งอุณหภูมิไม่เหมาะสม
ปรับลดอุณหภูมิของ Screw
ความดันภายใน extruder สูง/ output ต่ำ
 
อุปกรณ์ให้ความร้อน / ระบบควบคุมการให้ความร้อนเกิดความบกพร่อง
ตรวจสอบอุปกรณ์ / ระบบการควบคุมความร้อน
 
Screen Pack เกิดการอุดตัน
ทำความสะอาด Screen Pack เปลี่ยน Screen Pack หากจำเป็น
 
พอลิเมอร์หลอมมีอุณหภูมิต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของ Extruder เพิ่มอุณหภูมิที่หัว Die
ผิวขรุขระ
 
ผิวผลิตภัณฑ์มีลักษณะเป็นคลื่น
ตรวจสอบสมรรถนะของระบบส่งกำลังของ Extruder หรือ ระบบไฟฟ้า/ ระบบอุปกรณ์ดึงสาย ใช้ Screw ที่มีส่วน Feeding หรือ Metering ที่ยาวขึ้น ลดความเร็วในการ Extrude หรือลออุณหภูมิที่หัวดาย ใช้ Screen Pack ที่ละเอียดขึ้นเพื่อเพิ่ม Back Pressure
 
อุปกรณ์ให้ความร้อน / ระบบควบคุมการให้ความร้อนทำงานผิดปกติ
ตรวจสอบอุปกรณ์ / ระบบการควบคุมการให้ความร้อน
 
ผิวดายไม่เรียบ
ตรวจสอบที่ผิวดาย
 
การออกแบบหัว die ไม่เหมาะสม
ลดความยาวของ Die Land หรือ เพิ่ม Drawdown
 
เกิดโพรงอากาศที่ผิวสายไฟ ซึ่งอาจมาจากน้ำในกระบวนการหล่อเย็น
กำจัดน้ำที่ผิวด้านนอกสายไป เช่น การใช้ลูกยางช่วยรีดน้ำออก
 
เกิดฟองอากาศเล็กๆที่ผิวท่อ ซึ่งอาจมาจากความชื้นของเม็ดพลาสติก
ใช้วัตถุดิบจากบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิทและไม่ชำรุด เสียหาย อบวัตถุดิบทั้งหมดก่อนการใช้งาน ใช้ Drying Hopper ในการป้อนวัตถุดิบเข้า Extruder
 
พอลิเมอร์หลอมเข้ากันได้ไม่ดี
ปรับรูปแบบการตั้งอุณหภูมิของ Screw ปรับความเร็วรอบ Screw เปลี่ยน Screen Pack เป็นแบบที่มีความละเอียดมากขึ้น
 
พอลิเมอร์หลอมมีอุณหภูมิต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของ extruder เพิ่มอุณหภูมิที่หัว Die
งานขึ้นรูปร้อน
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
เกิดการฉีกขาดของแผ่นชีท ในขั้นตอนการดูดสุญญากาศ
 
การดูดสุญญากาศเร็วเกินไป
ลดอัตราเร็วของการดูดสุญญากาศขณะดึงชิ้นงาน
 
แผ่นชีทเย็นเกินไป
เพิ่มเวลา และอุณหภูมิในการให้ความร้อน พยายามรักษาอุณหภูมิให้ทั่วถึงทั้งแผ่นชีท
 
การออกแบบเม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
เพิ่มขนาดองศาของมุม
ติดตั้งตะแกรงกรองเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม ของความร้อน ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งมากจนเกินไป
 
อุณหภูมิของแผ่นชีทไม่สม่ำเสมอ
ปรับอุณหภูมิของการให้ความร้อนให้สม่ำเสมอ กัน ทั้งแผ่นชีท ขยายขอบเขตของการให้ความร้อนออกไป อีก ประมาณ 10% จากศูนย์กลาง
 
เทคนิคการดูดสุญญากาศเพื่อให้ได้รูปร่างชิ้นงานตามต้องการไม่เหมาะสม
ทำการดึงยืดแผ่นชีทก่อนเข้าสู่กระบวนการดูด ด้วยสุญญากาศ
เกิดจุดหรือแนวสว่างบนชิ้นงาน
 
แผ่นชีทได้รับความร้อนสูงเกินไปในบางบริเวณ
ปรับอุณหภูมิของเครื่องควบคุมความร้อน ใน บริเวณที่พบปัญหาให้เหมาะสมติดตั้งตะแกรงกรองเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม ของ ความร้อน ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งมากจนเกินไป
ความบกพร่องของพื้นผิว
 
แผ่นชีทหรือแม่พิมพ์สกปรก
ทำความสะอาดแผ่นชีท และ/ หรือ พื้นผิวแม่ พิมพ์ก่อนดำเนินการ ขึ้นรูปชิ้นงาน
 
ผิวแม่พิมพ์มีรอยนูนเกิดขึ้น
เกิดการเก็บกับอากาศไว้ภายใน ซึ่งอาจแก้ไขได้ โดยวิธีการพ่นทราย (Sand blast) ขนาด #30
แถบสีขาวบนชีท
 
อุณหภูมิของชีทต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิในกระบวนการขึ้นรูป เพิ่มอัตราเร็วของเครื่องดูดสุญญากาศ
ชีทหรือชิ้นงานมีลักษณะเป็นใย ย่นยับ
 
แรงดูดสุญญากาศไม่เพียงพอ
ตรวจสอบการทำงานของเครื่องดูดสุญญากาศ ของแม่พิมพ์ เพิ่มรูหรือช่องดูดสุญญากาศถ้าจำเป็น
 
เกิดการย้อยของชีทมากเกินไป
ลดความร้อนที่ใช้ลงให้เหมาะสม
 
อุณหภูมิของชีทร้อนเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดเวลาในการให้ความร้อนลง
แผ่นชีทไหม้
 
อุณหภูมิของผิวชีทร้อนเกินไป
ลดเวลาในการให้ความร้อนลง ลดอัตราเร็วในการให้ความร้อนลง
ชิ้นงานผิดรูป
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
แบบแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
เพิ่มรูสุญญากาศ เพิ่มช่องน้ำหล่อเย็นในส่วนการตัดชิ้นงาน
 
การกระจายตัวของผิวชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
แก้ปัญหาตามข้อ 8
 
อุณหภูมิการเย็นตัวของชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
เพิ่มช่องน้ำหล่อเย็นในแม่พิมพ์หรือเพิ่มขนาด ตรวจสอบการต่ออุปกรณ์หล่อเย็น
ความหนาของชิ้นงานไม่สม่ำเสมอ
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์ตรวจสอบระบบควบคุมอุณหภูมิ หรือการอุดตัน ของเครื่องการกระจายตัวของวัสดุยังไม่ดีพอ ซึ่งอาจปรับ ปรุงได้ โดยการดึงยืดแผ่นชีท ก่อนเข้าสู่ กระบวนการดูดด้วย สุญญากาศ
 
เกิดจุดร้อนหรือเย็นในชีท
ควบคุมความร้อนให้สม่ำเสมอ ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน
 
การย้อยของชีทไม่เหมาะสม
ให้ความร้อนแก่ชีทอย่างสม่ำเสมอ
ชิ้นงานติดบนแม่พิมพ์
 
แม่พิมพ์มีส่วน undercut ที่ขัดขวางการถอดชิ้น งานออกจากแบบ
เพิ่มความดันอากาศ เคลื่อนชิ้นงานหลังการขึ้นรูปออกจากแม่พิมพ์ ให้เร็วขึ้น
 
อุณหภูมิของชิ้นงานสูงเกินไป
เพิ่มรอบการให้ความเย็น ลดอุณหภูมิแม่พิมพ์ลงเล็กน้อย
เกิดจุดบนชีทบนฝั่งที่สัมผัสแม่พิมพ์
 
รูสุญญากาศมีขนาดใหญ่เกินไป
ปิดหรือปรับขนาดรูสุญญากาศให้เล็กลง
 
อุณหภูมิของชีทสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป
ชิ้นงานที่ขึ้นรูปได้ไม่สมบูรณ์
 
การดูดสุญญากาศไม่เร็วพอ
ตรวจสอบการรั่วของอุปกรณ์ดูดสุญญากาศ ใช้ช่องสุญญากาศขนาดใหญ่ขึ้น ในพื้นที่ที่จำ เป็น
 
แรงดูดสุญญากาศไม่เพียงพอ
เพิ่มจำนวน และ/หรือ ขนาดของช่อง สุญญากาศ
 
อุณหภูมิของชีทต่ำเกินไป
เพิ่มระยะเวลาการให้ความร้อนแก่ชีท เพิ่มอุณหภูมิการขึ้นรูป เพิ่มอุปกรณ์ให้ความร้อน ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน หากพบปัญหา เกิดซ้ำเฉพาะบริเวณเดิม
เกิดการย้อย/แอ่นของชีท
 
อัตราการไหลของเม็ดพลาสติกสูงเกินไป
เลือกใช้เม็ดพลาสติกเกรดที่มีค่าอัตราการไหลต่ำลง
 
อุณหภูมิของชีทสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป
เกิดเส้นบนชีทหรือชิ้นงาน
 
อุณหภูมิของชีทสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป
 
การควบคุมอุณหภูมิของแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
เพิ่มปริมาณหรือขนาดของอุปกรณ์ให้ความเย็น
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิของหัวอัดขึ้นรูปต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของหัวอัดขึ้นรูป
ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนสี
 
อุณหภูมิในการขึ้นรูปสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดเวลาที่ใช้ในการขึ้นรูป ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน หากพบปัญหา เกิดซ้ำ เฉพาะบริเวณเดิม
ฟองอากาศภายในชิ้นงาน
 
อุณหภูมิในการขึ้นรูปไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน ปรับอุณหภูมิของแต่ละส่วนของการขึ้นรูปให้เหมาะสม ติดตั้งตะแกรงกรองเพื่อไม่ให้เกิดการสะสม ของความร้อน ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่ง
 
ให้ความร้อนเร็วเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ลดอัตราเร็วในการให้ความร้อน เพิ่มระยะห่างระหว่างอุปกรณ์ให้ความร้อนกับชีท
 
ฟองอากาศภายในชิ้นงาน
อบหรือให้ความร้อนชีทก่อนนำเข้าสู่กระบวน การขึ้นรูป ด้วยความร้อน ทั้งนี้ระยะเวลาในการอบหรือให้ความร้อนขึ้นกับ ความหนาของชีทที่ต้องการ ให้ความร้อนแก่ชีททั้ง 2 ด้าน
งานฝา
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
จุดด้าน(จุดคล้ายกำมะหยี่)
 
เกิดจากการขัดเงาในแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ขัดเงาผิวในแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำมากเกินไป
ปรับอุณหภูมิของแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น
ชิ้นงานมีลักษณะฟองเล็กๆ
 
ระยะเวลาของรอบการผลิตสั้นเกินไป
เพิ่มระยะเวลาของรอบการผลิต
 
ใช้ความดันในการอัดแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
เพิ่มแรงกดของการอัดเนื้อพลาสติกลงในแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์สูงเกินไป
ลดอุณหภูมิของแม่พิมพ์ลง
ชิ้นงานผิวส้ม
 
เม็ดพลาสติกมีความชื้นปนเปื้อน
ทำการอบเม็ดพลาสติกก่อนทำการใช้
 
สภาพผิวของแม่พิมพ์ไม่ดี
ทำการขัดบริเวณผิวด้านในของแม่พิมพ์
 
แม่พิมพ์ประกบตัวเร็วเกินไปเนื่องจากความดันที่ใช้ในการประกบแม่พิมพ์สูง
ลดความเร็วรอบเพื่อให้แม่พิมพ์ประกบตัวช้าลง
เส้นแนวการไหล
 
ความหนาของผนังมีค่าไม่คงที่
ออกแบบชิ้นส่วนภายในแม่พิมพ์ใหม่ เพื่อให้ได้ผนังที่มีความหนาเป็นค่าเดียว
 
ขนาดของ Gate เล็กเกินไป
เพิ่มขนาดของ Gate
 
อุณหภูมิของแม่พิมพ์ต่ำ
เพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
อุณหภูมิในการหลอมเหลวต่ำ
เพิ่มอุณหภูมิในการหลอมเหลว
มิติของชิ้นงานไม่คงที่
 
ระบบ Runner ไม่สมดุล
ทำให้ขนาดของ Gate และ Runner สมดุลเพื่อทำให้การบรรจุสมดุล
 
การเปลี่ยนแปลงความดันในการหลอม
เพิ่มความดันในการบรรจุ เพื่อเป็นการคงให้สภาวะการไหลส่วนมาก มีค่าความเร็วตามที่เลือกไว้ เพิ่มความดันในการอัดย้ำไปยังค่าที่มากที่สุด เพิ่มอัตราในการฉีด
 
รีไซเคิลมีความไม่สม่ำเสมอในคุณภาพ
ตรวจสอบขั้นตอนในการผสมรีไซเคิล หรือ ลดการใช้รีไซเคิล
 
การอัดตัวของเนื้อพลาสติกไม่ดีพอ
เพิ่มเวลาและความดันในการฉีดไปข้างหน้าเพื่อให้แน่ใจว่า Gate เกิดการแข็งตัวแล้ว
 
การป้อนพลาสติกไม่สม่ำเสมอ
ปรับอุณหภูมิที่ใช้ในการบรรจุให้เหมาะสมเพิ่ม Shot size เพื่อให้ได้แรงกระแทกที่พอเหมาะ เปลี่ยน Check valve ถ้าไม่สามารถปรับแรงกระแทกให้พอเหมาะได้
รอยการไหลและ รอยตำหนิบนผิวหน้าของชิ้นงาน
 
สภาพผิวของแม่พิมพ์ไม่ดี
ทำความสะอาดและขัดบริเวณผิวด้านในของแม่พิมพ์
 
เม็ดพลาสติกเสียสภาพในระหว่างการหลอมขึ้นรูป
ลดอุณหภูมิในการหลอมขึ้นรูป
 
ความเร็วที่ใช้ในการฉีดเนื้อพลาสติกเข้าแม่แบบต่ำเกินไป
เพิ่มความเร็วที่ใช้ในการฉีดเนื้อพลาสติกให้สูงขึ้น
 
ผิวของแม่พิมพ์มีสารหล่อลื่นมากเกินไป
ใช้ปริมาณสารหล่อลื่นกับแม่พิมพ์ให้น้อยลง
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติกและแม่พิมพ์นั้นต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของเนื้อพลาสติกและแม่พิมพ์นั้นให้สูงขึ้น
การลอกบริเวณผิวชิ้นงาน
 
มีการกักอากาศภายในแม่พิมพ์
เพิ่มการระบายอากาศ
 
อัตราในการฉีดต่ำ
เพิ่มความเร็วฉีด
 
อุณหภูมิและการไหลของเนื้อพลาสติกเหลวไม่คงที่
ใช้ความดัน back pressure ให้สูงขึ้น ปรับความเร็วหรือรอบในการหมุนของสกรู
 
อุณหภูมิของพลาสติกเหลวและแม่พิมพ์นั้นต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มลดอุณหภูมิของพลาสติกเหลวและแม่พิมพ์
เนื้อพลาสติกไม่เต็มแม่พิมพ์
 
มีอากาศตกค้างทำเกิด Back pressur eภายในแม่พิมพ์
เพิ่มรูระบายอากาศในแม่พิมพ์ให้มากขึ้น
 
จำนวน gates ของแม่พิมพ์มีน้อยเกินไป
เพิ่มจำนวน gates ของแม่พิมพ์
 
ขนาดของ Runners/ gates และ nozzle เล็กเกินไป
ปรับขนาดของ Runners/ gates และ nozzleให้เหมาะสมกับการขึ้นรูปต่างๆ
 
ความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็มแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็มแม่พิมพ์ให้สูงขึ้น
 
Injection forward time และ boost time สั้นเกินไป
เพิ่มระยะเวลา forward และ boost time
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติกและแม่พิมพ์นั้นต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิของระบบหล่อเย็นในระบบให้สูงขึ้น
 
ความดันของการฉีดน้อยเกินไป
เพิ่มความดันของการฉีดให้มากขึ้น
รอยจุดสีดำปนเปื้อน
 
ปริมาณ regrind มากเกินไป
ลดปริมาณ regrind
 
ความเร็วรอบสกรูมากเกินไป
ปรับลดความเร็วรอบสกรู
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติกสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิของพลาสติกเหลว
ปลดชิ้นงานออกจากแม่พิมพ์ยาก
 
การอัดตัวของเนื้อพลาสติกมากเกินไป
ปรับลดความดันในการฉีดขึ้นรูป และ ปรับลดเวลาของ forward timeในสกรู และ boost timeในระหว่างการฉีดขึ้นรูป
 
ชิ้นงานเย็นตัวไม่สมบูรณ์
ปรับเพิ่มเวลาในการหล่อเย็น ปรับลดอุณหภูมิของเนื้อพลาสติกเหลว ปรับลดอุณหภูมิของแม่พิมพ์
 
รอบระยะเวลาในการขึ้นรูปสั้นเกินไป
ปรับรอบระยะเวลาในการขึ้นรูปให้มากขึ้น
 
ใช้ความดันสูงและเวลานานเกินไปในการขึ้นรูป
ปรับลดเวลาในการฉีดขึ้นรูปสำหรับ forward time และ boost time
 
ลักษณะผิวแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ทำการขัดส่วนของด้านในแม่พิมพ์โดยเฉพาะด้านล่างสุด ตรวจสอบการชำรุดบริเวณผิวหน้าของแม่พิมพ์ เติมสารเติมแต่งจำพวก น้ำยาถอดแบบ
การหดตัวของชิ้นงานมากเกินไป
 
เม็ดพลาสติกมีความหนาแน่นมากเกินไป
เลือกใช้เม็ดพลาสติกที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า
 
Cycle Time สั้นเกินไป
เพิ่มเวลาในการหล่อเย็นให้มากขึ้น
 
ความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็มแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม
ปรับความเร็วในช่วงเติมพลาสติกเหลวให้เต็มแม่พิมพ์ให้เหมาะสม
 
ความดันฉีด และ ความดันย้ำน้อยเกินไป
เพิ่มความดันฉีด และ ความดันย้ำ
 
อุณหภูมิของเนื้อพลาสติกและแม่พิมพ์ ร้อนหรือเย็นเกินไป
ปรับอุณหภูมิของเนื้อพลาสติกและแม่พิมพ์ให้เหมาะสม
ชิ้นงานเปราะ
 
ปรับขนาดของ gate ให้ใหญ่ขึ้น และย้าย Gate ออกจากบริเวณที่เป็นจุดความเครียด
 
ขนาดของ Gate เล็กเกินไป และที่ตั้งไม่เหมาะสม
 
เวลาที่ใช้ในการหลอมพลาสติกนานเกินไป
ลด Cycle Time
 
สิ่งปนเปื้อน
ตรวจสอบสิ่งเจือปนในเม็ดพลาสติก และล้างเครื่องจักรให้สะอาด
 
มีส่วนผสมของ recycle หรือ regrind มากเกินไป
ลดส่วนผสมของrecycle หรือ regrind
 
พลาสติกเสื่อมสภาพ
ปรับลดอุณหภูมิในระหว่างการขึ้นรูป
งานท่อ
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
คราบไหม้สะสมหน้าดายน์
 
ช่วงอุณหภูมิหน้าดายน์สูงเกินไป
ตรวจสอบช่วงอุณหภูมิหน้าดายน์ให้เหมาะสม
 
อุณหภูมิหลอมเหลวของเม็ดสูงเกินไป
ลดความดันย้อนกลับ โดยการเพิ่มเส้นผ่าศูนย์กลางของดายน์ หรือช่องว่างของดายน์ ลดอุณหภูมิพลาสติกเหลว โดยลดอัตราการอัดรีด ลดแรงเฉือนลง โดยการลดความเร็วรอบสกรู หรือเพิ่มความลึกของช่องสกรู
การเกิดรูอากาศในเนื้อท่อ
 
ชุดหัวดายน์สกปรก
ทำความสะอาดฝุ่นละออก และสิ่งปนเปื้อนที่ติดอยู่ที่หน้าดายน์ ออกเป็นประจำ
 
การเสื่อมสภาพของเม็ดพลาสติก
ลดอุณหภูมิพลาสติกเหลว เพิ่มความเร็วรอบสกรูในเครื่องอัดรีด ลดความดันย้อนกลับในเครื่องอัดรีด
 
ปัญหาความชื้นของเม็ดพลาสติก
อบเม็ดพลาสติกก่อนใช้ ลดความเร็วรอบสกรู ตรวจสอบสถานที่เก็บเม็ดพลาสติก โดยให้เก็บในที่มิดชิด
เส้นผ่าศูนย์กลางท่อไม่กลม
 
อุณหภูมิของท่อยังไม่เย็นพอขณะอยู่ในส่วนดึงท่อ
ตรวจสอบอุณหภูมิหล่อเย็น เพื่อให้ท่อมีอุณหภูมิเย็น เพียงพอก่อนเข้าส่วนดึงท่อ
 
อุปกรณ์ปรับขนาดไม่เหมาะสม หรือมีขนาดไม่ถูกต้อง
ตรวจสอบอุปกรณ์ปรับขนาด
ผิวท่อด้านนอก/ด้านในไม่เรียบ
 
ระยะห่างของ die แคบเกินไป
ปรับเพิ่มระยะห่าง die
 
ปัญหาความชื้นของเม็ดพลาสติก
อบเม็ดพลาสติกก่อนใช้ ลดความเร็วรอบสกรู ตรวจสอบสถานที่เก็บเม็ดพลาสติก โดยให้เก็บในที่มิดชิด
 
อุปกรณ์ปรับขนาดไม่ตรงกับชุดหัวดายน์
ตรวจสอบการติดตั้งให้ตรงกัน
 
หากรอยตำหนิเกิดที่ผิวท่อด้านล่าง ปัญหาอาจเกิดจากระบบน้ำหล่อเย็นไม่ทั่วถึง
ติดตั้งระบบน้ำหล่อเย็นในส่วนด้านล่างเพิ่ม
 
ความเร็วของการอัดรีดที่สูงเกินไปอาจทำให้เกิด melt fracture ได้
เพิ่มอุณหภูมิหลอมเหลวและ ลดรอบการอัดรีดลง
 
สิ่งปนเปื้อนติดบริเวณ mandrel หรือ sizing sleeves
ตรวจสอบความสะอาดที่ mandrel หรือ sizing sleeves
 
ช่วงอุณหภูมิหลอมเหลวของเม็ดพลาสติก ต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิหน้าดายน์ เพิ่มอุณหภูมิการอัดรีด
ตำหนิที่เกิดขึ้นบนผิวท่อ บริเวณหน้าดายน์
 
มีความร้อนสูงเกินไป
ตรวจสอบระบบอุปกรณ์ควบคุมอุณหภูมิ
 
มีสิ่งปนเปื้อน
ตรวจสอบสิ่งปนเปื้อนของเม็ดพลาสติก และสารเติมแต่งเม็ดพลาสติกก่อนใช้งาน เก็บเม็ดพลาสติกให้อยู่ในที่ๆ ปราศจากความชื้น และฝุ่นละออง
 
การผสมของเม็ดพลาสติกและสารเติมแต่งเม็ดพลาสติกที่ไม่เหมาะสม
เพิ่มความเร็วรอบหรือลดรูพรุนของแผ่น screen pack เพื่อให้เกิดความดันย้อนกลับ (back pressure) มากเพื่อให้ผสมกันดีขึ้น
 
ตรวจสอบสถานที่เก็บเม็ดพลาสติก โดยให้เก็บในที่มิดชิด
อบเม็ดพลาสติกก่อนใช้งาน ลดความเร็วรอบสกรู ตรวจสอบสถานที่เก็บเม็ดพลาสติก โดยให้เก็บในที่มิดชิด
ความหนาผนังท่อไม่สม่ำเสมอ
 
อุณหภูมิในชุดหัวดายน์มีความร้อน/เย็นเป็นช่วงๆ
ตรวจสอบอุปกรณ์ให้ความร้อน ภายในชุดหัวดายน์
 
ติดตั้งชุดหัวดายน์และ ชุดอุปกรณ์ดึงท่อไม่เสมอกัน
ปรับตั้งชุดหัวดายน์และ ชุดอุปกรณ์ดึงท่อให้เสมอกัน
 
ติดตั้งแกนหัวดายน์ไม่เหมาะสม
ปรับตำแหน่งแกนหัวดายน์ให้เหมาะสม
งานเส้นใยและเส้นเทป
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
ความแข็งแรง ของเส้นใยต่ำเกินไป
 
อัตราการดึงยืด ต่ำเกินไป
เพิ่มอัตราดึงยืด
เส้นใยมี %การยืดตัว เหลือมากเกินไป
 
อัตราการดึงยืด ต่ำเกินไป
เพิ่มอัตราดึงยืด
เกิดคราบเกาะที่หัวดาย
 
มีการปนเปื้อนสารที่ไม่ทนต่อความร้อนอยู่
ตรวจสอบเม็ดพลาสติกและส่วนผสมที่ใช้
 
อุณหภูมิการขึ้นรูปสูงเกินไป
ลดอุณหภูมิการขึ้นรูปและอุณหภูมิดาย
เส้นใยขาดขณะดึงยืด
 
อุณหภูมิอ่างน้ำร้อนต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิอ่างน้ำร้อน
 
อัตราเท่ายืดมากเกินไป
ปรับลดอัตราเท่ายืด
 
ความเร็วในการอัดรีดสูงเกินไป
ปรับลดความเร็วในการอัดรีด
 
ลูกกลิ้งดึงยืดทำงาน หรืออยู่ในสภาพไม่เหมาะสม
ปรับการทำงานของลูกกลิ้งดึงยืด ให้ดึงยืดอย่างสม่ำเสมอ แก้ไขไม่ให้เส้นใยบนผิวลูกกลิ้งลื่นไถล
 
มีพลาสติกเสื่อมสภาพบริเวณดาย
ตรวจสอบส่วนผสมอื่น เช่น เม็ดสีซึ่งอาจเกิดการเสื่อมสลายได้ ตรวจสอบอุณหภูมิการขึ้นรูป
 
มีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่ในเนื้อพลาสติก หรือเกิดจากเนื้อพลาสติกไหม้
ตรวจสอบพลาสติกที่ใช้ และระบบป้อนพลาสติก ถอด และทำความสะอาดเครื่องอัดรีดและหัวดาย ตรวจสอบตะแกรง
 
เกิดช่องว่างในเนื้อพลาสติก Void
เพิ่มอุณหภูมิอ่างน้ำเย็น ลดอุณหภูมิในการอัดรีด ปรับระยะห่างระหว่างหน้าดาย และน้ำหล่อเย็นให้กว้างขึ้น
 
เกิด Melt Fracture
เพิ่มอุณหภูมิในการอัดรีด
เส้นใยขาดที่หัวดาย
 
อุณหภูมิการขึ้นรูปไม่เหมาะสม
ปรับอุณหภูมิการขึ้นรูปให้เหมาะสม
 
มีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่ในเนื้อพลาสติก
ตรวจสอบพลาสติกที่ใช้ และระบบป้อนพลาสติก ตรวจสอบตะแกรง
 
มีสิ่งแปลกปลอมปนอยู่ในเนื้อพลาสติก หรือเกิดจากเนื้อพลาสติกไหม้
ทำความสะอาดเครื่องอัดรีดและหัวดาย
เส้นใยมีขนาดไม่สม่ำเสมอ
 
เส้นใยเกิดลื่นหรือเลื่อนบนลูกกลิ้งดึงยืด
ตรวจสอบและปรับผิวของลูกกลิ้งดึงยืดให้เรียบ เพิ่มแรงกดของลูกกลิ้งหนีบให้แน่นขึ้น
 
ลักษณะการอัดรีดเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง Surging หรือการดึงยืดไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบระบบการอัดรีด และการดึงยืด
 
ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของดายไม่สม่ำเสมอ จากการสะสมของสิ่งสกปรก
ตรวจสอบและทำความสะอาดหัวดาย
งานเป่าเข้าแบบ
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
เกิดรอยเส้นแนวยาวที่ผิวชิ้นงาน หรือผิวพาริสัน
 
มีสิ่งแปลกปลอมหรือพลาสติกไหม้ ตกค้างและเกาะอยู่ บริเวณดาย
ทำความสะอาดดาย ตรวจสอบวัตถุดิบอื่นๆ เช่นเม็ดพลาสติกหลอม และเม็ดสี
เกิดฟองอากาศที่พาริสัน
 
สันสกรูในช่วงป้อนเม็ดพลาสติกลึกเกินไป
ตรวจเช็คระยะลึกของสันสกรู โดยเปรียบเทียบ กับเครื่องอื่นๆ ที่ไม่เกิดปัญหา
 
ความเร็วรอบสกรูสูงเกินไป
ลดความเร็วรอบสกรู
 
วัตถุดิบมีความชื้น
ตรวจสอบเม็ดพลาสติกที่ใช้
เกิดรอยปุ่มหรือฟองอากาศบนผิว ของชิ้นงาน
ผิวชิ้นงานหยาบ ไม่เรียบ ไม่มันเงา
 
เกิด Melt Fraction ของเนื้อพลาสติกเหลว
ปรับลดความเร็วในการอัดรีด ปรับเพิ่มอุณหภูมิที่หัวดาย ปรับความกว้างของระยะห่างดาย
รอยประกบด้านข้างไม่สมบูรณ์
 
การออกแบบแม่พิมพ์ไม่เหมาะสม หรือสภาวะที่ใช้ขึ้นรูปไม่เหมาะสม
แก้ไขแม่พิมพ์ให้สามารถประกบปิดได้สนิทขึ้น ปรับเพิ่มอุณหภูมิที่หัวดาย ปรับเพิ่มแรงปิดแม่พิมพ์ ปรับเพิ่มความดันของลมเป่า
รอยประกบที่ก้นขวด Pinch-off ไม่สมบูรณ์
 
เกิดจากการตั้ง Condition ของการขึ้นรูปไม่เหมาะสม หรือการออกแบบแม่พิมพ์บริเวณแนวประกบ Pinch-off ไม่เหมาะสม
ทบทวนการออกแบบในส่วนของ Pinch-off ให้เหมาะสม ปรับลดอุณหภูมิที่บริเวณแนวประกบที่ก้นขวด เพิ่มเวลาในการเป่าและปิดแม่พิมพ์ให้นานขึ้น
ความหนาของพาริสันไม่สม่ำเสมอ ในแนวเส้นรอบวง
 
ดายพินอยู่ในตำแหน่งไม่สมดุล
ปรับตำแหน่งดายพินให้เหมาะสม
ความหนาของ Parison ไม่สม่ำเสมอในแนวดิ่ง
 
เกิดการไหลยืดลงด้านล่าง Drawdown ของพลาสติกมากเกินไป เนื่องจากน้ำหนักตัวของพลาสติกเหลว
ปรับลดอุณหภูมิการขึ้นรูป ปรับเพิ่มความเร็วในการอัดรีด ปรับเพิ่มความเร็วในการปิดแม่พิมพ์ ใช้พลาสติกที่มีดรรชนีการไหลต่ำลง
งานฉีดเข้าแบบ
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
ผิวชิ้นงานไม่มันเงา
 
เนื้อพลาสติกสัมผัสกับผิวแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
เพิ่มความดันในการฉีด และความเร็วในการฉีด เพิ่มปริมาณเนื้อพลาสติกหลวต่อการฉีด เพิ่มความดันย้ำ
 
อุณหภูมิพลาสติกเหลวต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิกระบอกฉีด
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
เกิดจากการขัดเงาผิวด้านในแม่พิมพ์ไม่ดีพอ
ทำการขัดเงาผิวในแม่พิมพ์
เกิดการโก่งงอ Warpage
 
เวลาในการหล่อเย็นน้อยเกินไป
เพิ่มเวลาการหล่อเย็นให้นานขึ้น
 
เวลาในการฉีดย้ำนานเกินไป
ปรับลดเวลาในการย้ำ
 
ความดันการฉีดย้ำมากเกินไป
ปรับลดความดันย้ำลง
เกิดครีบ Flashing
 
อุณหภูมิพลาสติกเหลวสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิพลาสติกเหลว
 
ความดันในการฉีดมากเกินไป
ปรับลดความดันในการฉีด
 
ความเร็วในการฉีดสูงเกินไป
ปรับลดความเร็วในการฉีด
เกิดรอยยุบ Sink Mark
 
เวลาการหล่อเย็นของชิ้นงาน (Cooling Time) สั้นเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิแม่พิมพ์ และเพิ่มเวลาการหล่อเย็น
 
พลาสติกเกิดการหดตัวมากเกินไป เมื่อเย็นตัวเนื่องจาก อุณหภูมิพลาสติกเหลวสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิกระบอกฉีด
 
ปริมาณเนื้อพลาสติกเหลวต่อ Shot ไม่พอเพียง
เพิ่มปริมาณเนื้อพลาสติก
 
ความดันในการฉีดต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มความดันในการฉีด ปรับเพิ่มความดันย้ำ และเพิ่มเวลาในการฉีด
เกิดรอยไหม้ Scorch หรือ Burn
 
การระบายอากาศภายในแม่พิมพ์ โดยเฉพาะส่วน ปลายสุดไม่เพียงพอ จึงเกิดรอยไหม้จากการเสียดสี และสะสมของเนื้อพลาสติก
เพิ่มรูระบายอากาศที่แม่พิมพ์
 
อุณหภูมิสะสมของพลาสติก ในแม่พิมพ์สูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิกระบอกฉีด
เกิดรอยเชื่อมประสาน
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
ความดันในการฉีดต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มความดันในการฉีด
 
การไหลของพลาสติกเหลวช้าเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิกระบอกฉีดใช้เม็ดพลาสติกที่มีอัตราการไหลเพิ่มขึ้น
เกิดรอยแหว่ง ไม่เต็ม
 
อุณหภูมิแม่พิมพ์ต่ำเกินไป ทำให้พลาสติกเหลวไหลไม่ดี
ปรับเพิ่มอุณหภูมิแม่พิมพ์
 
เกิดแรงต้านการไหล ในระบบทางเข้าและการเติม พลาสติกเหลวเข้าแม่พิมพ์
เพิ่มขนาดของ Gate ให้ใหญ่ขึ้น หรือลดความยาว Gate ให้สั้นลง ปรับเพิ่มขนาดของ Sprue และ Runner ให้ใหญ่ขึ้น หรือลดความยาวของ Sprue และ Runner ให้สั้นลง
 
การไหลของพลาสติกเหลวช้าเกินไป
ปรับเพิ่มอุณหภูมิกระบอกฉีด หรือปรับเพิ่มความเร็วฉีด
งานฟิล์ม
ลักษณะของปัญหา สาเหตุที่เป็นไปได้ แนวทางการแก้ไข
การอัดรีดเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง
 
อุณหภูมิใต้ถังบรรจุเม็ดสูงเกิน ทำให้เม็ดไหลไม่ต่อเนื่อง
ลดอุณหภูมิใต้ถังบรรจุเม็ดให้เหมาะสม
 
อุณหภูมิการขึ้นรูปในกระบอกไม่เหมาะสม
ตรวจสอบระบบการควบคุมอุณหภูมิ
 
ปริมาณเม็ดพลาสติกในถังบรรจุเม็ด หรือช่วงป้อนเม็ดไม่เพียงพอ
ตรวจสอบระบบการป้อนพลาสติก และเพิ่มอุณหภูมิช่วงป้อน (Feed Zone)
ลูกโป่งแตก มีรูรั่ว หรือฟองอากาศ
 
วัตถุดิบเปียกชื้น
ทำวัตถุดิบให้แห้ง เช่น อบให้แห้ง/ตากแดด
 
เกิดการเสื่อมสภาพของเม็ดพลาสติกในเครื่องอัดรีด
เปลี่ยนตะแกรงใหม่หากพบว่าตะแกรงขาด ทำความสะอาด Extruder/ หัวดายหากพบว่ามีพลาสติกหลอม ตกค้างที่ Extruder หรือ Die
 
มีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนในพลาสติก
ตรวจสอบระบบป้อนเม็ดพลาสติก
 
เกิด และเจลที่ผิวฟิล์ม
ตรวจสอบระบบป้อนเม็ดพลาสติก หากพบว่ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น ผงฝุ่น เศษพลาสติก และอื่นๆ ปะปนอยู่ เปลี่ยนตะแกรงใหม่หากพบว่าตะแกรงขาด ทำความสะอาด Extruder/ หัวดายหากพบว่ามีพลาสติกหลอม ตกค้างที่ Extruder หรือ Die ตรวจสอบคุณภาพเม็ดพลาสติก และเม็ดหลอมที่ใช้ผสม หากพบการเสื่อมสภาพของเม็ดพลาสติก รีไซเคิลที่นำมาผสม เปลี่ยนวัตถุดิบ/ หรือทำการเพิ่มอุณหภูมิในช่วง ส่วนผสม (Mixing Zone) ให้เท่ากับช่วงท้ายของส่วนอีดรีดหากมี วัตถุดิบที่มี ความหนืดสูงผสมอยู่
ลูกโป่งเบี้ยว ไม่สมมาตร
 
ตะแกรงตัน
เปลี่ยนตะแกรง
 
การจัดวางตำแหน่งและระดับของวงแหวนลมเป่า ไม่เหมาะสม
ปรับแต่งระยะวงแหวนลม (air ring)
 
ความหนาบางไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบและควบคุมความหนาของฟิล์ม
ลูกโป่งสั่น และส่าย
 
อัตราลมเป่าจากจานลมสูงเกินไป
ปรับอัตราและทิศทางลมเป่า
 
อุณหภูมิพลาสติกเหลวสูงเกินไป
ปรับลดอุณหภูมิกระบอกสูบลง
ความหนาบางไม่สม่ำเสมอ ในแนวเครื่องจักร (MD)
 
ลูกโป่งเกิดการแกว่งและส่าย
ปรับลดอุณหภูมิกระบอกสูบลง หากพบว่าอุณหภูมิพลาสติกเหลวสูงเกินไป ปรับอัตราและทิศทางลมเป่า อัตราลมเป่าจากจานลมสูงเกินไป
 
เกิดจากการอัดรีดที่เป็นช่วงๆไม่ต่อเนื่อง
ตรวจสอบระบบ การป้อนพลาสติก และเพิ่มอุณหภูมิช่วงป้อน หากพบว่าปริมาณน้ำหล่อเย็นใต้ ถังบรรจุเม็ดไม่เพียงพอ ตรวจสอบระบบการควบคุมอุณหภูมิ หากพบว่า อุณหภูมิการขึ้นรูปใน กระบอกไม่เหมาะสม ลดอุณหภูมิใต้ถังบรรจุเม็ด ให้เหมาะสมหากพบว่าอุณหภูมิใต้ ถังบรรจุเม็ดสูงเกิน ทำให้เม็ดไหลไม่ต่อเนื่อง
ความหนาบางไม่สม่ำเสมอ ในแนวขวางเครื่องจักร (TD)
 
การควบคุมความหนาบางไม่เหมาะสม
ปรับการควบคุม โดยใช้ Adjustment Bolt
 
อุณหภูมิรอบนอกดาย และลูกโป่งไม่เหมาะสม ทำให้พลาสติกหลอม ไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ
ปรับอุณหภูมิพลาสติกหลอม
 
อุณหภูมิรอบนอกดายและลูกโป่งไม่เหมาะสม ทำให้พลาสติกหลอมไหลออกมาไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบอัตราการเป่าลม
 
เกิดการสกปรก สะสมที่หัวดาย ทำให้การไหลไม่สม่ำเสมอ
ทำความสะอาดดาย
การฉีกขาดง่ายตามแนว เครื่องจักร (แนวMD)
 
เกิดจากการที่ผิวฟิล์มมีความเสียหาย หรือรอยบาก
ตรวจสอบสภาพผิวฟิล์ม ทำความสะอาดหัวดาย/ ตรวจสอบหรือเปลี่ยนอุปกรณ์
 
ช่องว่างดายกว้างเกินไป
ปรับลดช่องว่างดาย
 
ความสูงของแนวเส้นแข็งตัวของฟิล์ม ต่ำเกินไป
ปรับเพิ่มความสูง ของแนวเส้นแข็งตัวของฟิล์มแต่ให้ระวัง การส่ายของลูกโป่ง และคุณสมบัติอื่นที่อาจเปลี่ยนไป
 
อัตราการเบ่งของลูกโป่ง (BUR) ต่ำเกินไป ทำให้การจัดเรียงตัวของโมเลกุลตามแนว TD น้อยเกินไป
ปรับเพิ่มอัตราการเบ่ง หรือใช้หัวดาย ที่มีขนาดเล็กลง
ฟิล์มเกิดรอยยับย่น
 
ลูกโป่งไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
ปรับอุณหภูมิดาย ให้เท่ากับอุณหภูมิพลาสติกเหลว ปรับดายให้ได้ลูกโป่งที่เป็นเนื้อเดียวกัน ทำความสะอาดจานลม
 
ลูกกลิ้งรวบฟิล์ม และดายไม่ได้ระดับ
ปรับให้ได้ระดับ
 
มีเทปหรือสิ่งสกปรกติดบนลูกกลิ้ง
ทำความสะอาดลูกกลิ้ง
 
อัตราการดึงม้วนฟิลม์ไม่เหมาะสม
ปรับระบบม้วนฟิล์ม
 
ลมที่เป่าจากวงแหวนลมไม่เหมาะสม
ปรับวงแหวนลม เพื่อปรับแต่งความแรงของลม
 
เกิดลักษณะการอัดรีดเป็นช่วงๆ ไม่ต่อเนื่อง / พลาสติกออกมาไม่สม่ำเสมอ
ตรวจสอบระบบการป้อนพลาสติก และเพิ่มอุณหภูมิช่วงป้อน หากพบว่า ปริมาณน้ำหล่อเย็นใต้ถังบรรจุเม็ดไม่เพียงพอ ตรวจสอบระบบการควบคุมอุณหภูมิ หากพบว่าอุณหภูมิการขึ้นรูป ในกระบอกไม่เหมาะสม ลดอุณหภูมิใต้ถังบรรจุเม็ดให้เหมาะสม หากพบว่า อุณหภูมิใต้ ถังบรรจุเม็ดสูงเกิน ทำให้เม็ดไหลไม่ต่อเนื่อง
 
ลูกโป่งไม่นิ่ง
ปรับแต่งระยะวงแหวนลม (air ring) ด้วยเครื่องมือที่มีความละเอียด โดยใช้ caliper และ split level ทำความสะอาดและปรับวงแหวนลม เพื่อให้ลมที่เป่าออกมามีความสม่ำเสมอ และคงที่
เกิด Fish eye หรือสิ่งแปลกปลอมที่ผิวฟิล์ม
 
เกิดจากมีวัตถุดิบที่มีความหนืดสูงผสมอยู่
เปลี่ยนวัตถุดิบ/ หรือทำการเพิ่มอุณหภูมิในช่วง ส่วนผสม (Mixing Zone) ให้เท่ากับช่วงท้ายของส่วนอัดรีด
 
เกิดการเสื่อมสภาพของเม็ดพลาสติกรีไซเคิลที่นำมาผสม
ตรวจสอบคุณภาพเม็ดพลาสติก และเม็ดหลอมทีใช้ผสม
 
มีพลาสติกหลอมตกค้างที่ Extruder หรือ Die
ทำความสะอาด Extruder/ หัวดาย
 
ตะแกรงขาด
เปลี่ยนตะแกรงใหม่
 
มีสิ่งแปลกปลอม เช่น ผงฝุ่น เศษพลาสติก และอื่นๆ ปะปนอยู่
ตรวจสอบระบบป้อนเม็ดพลาสติก
ผิวฟิล์มหยาบ/ขรุขระ/ไม่เป็นเนื้อเดียวกัน
 
อุณหภูมิที่หัวดายต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิที่หัวดาย
 
วัตถุดิบทีใช้มีความแตกต่างของอัตราการไหลมาก
เปลี่ยนวัตถุดิบ/ หรือทำการเพิ่มอุณหภูมิในช่วง Mixing ให้เท่ากับช่วงท้ายของ Extruder
 
หัวดายสกปรก
ทำความสะอาดหัวดาย
 
อุณหภูมิที่ทำให้พลาสติกหลอมต่ำเกินไป
เพิ่มอุณหภูมิการขึ้นรูป
 
มีเนื้อพลาสติกมากเกินไป
ลดรอบสกรู เพื่อลดเนื้อพลาสติก
 
 
 
HOME | ABOUT US | PRODUCTS | NEWS | KNOWLEDGE | TROUBLE SHOOTING | CAREER | CONTACT
Copyright © 2011 all reight reserve Liackseng.com